งาน วิเคราะห์ การ ร้อย เรียง ประโยค

ประโยค            ความคิดของบุคคลสื่อสารเป็นภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ คือ 1. ผู้ส่งสาร 2. สาร 3. ผู้รับสาร ที่จะทำให้สารนั้นเป็นภาษาที่ดี ผู้รับสารเข้าใจสารที่ผู้ส่งสารส่งสารนั้น ผู้รับจะวิเคราะห์ สังเคราะห์สารเพื่อเข้าใจสารนั้น สารนี้จะเรียบเรียงเป็นถ้อยคำ หรือประโยคอาจจะแตกต่างกันด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้            1.  ส่วนประกอบของประโยค            2.  ลำดับคำในประโยค            3.  ความยาวของประโยค

           4.  เจตนาของผู้ส่งสารที่แสดงในประโยค

          1.ส่วนประกอบของประโยค

มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ                      ภาคประธาน        และภาคแสดง                      คุณยาย              ชอบกุหลาบ            เราอาจเพิ่มส่วนขยายประโยคได้อีก

                     คุณยายคนนั้น      ชอบกุหลาบแดง


                     คนนั้น ขยาย คุณยาย    แดง ขยาย กุหลาบ            ส่วนขยายอาจเป็นประโยคก็ได้ ดังตัวอย่าง                      คุณยายที่อยู่ข้างบ้านฉันชอบกุหลาบที่ฉันให้ท่าน

                     ประโยค ที่อยู่ข้างบ้านฉันขยายคุณยาย      ที่ฉันให้ท่านขยายกุหลาบ


           นอกจากนี้อาจเพิ่มประโยคขึ้นมาโดยใช้สันธาน และ แต่ หรือ จึง ฯลฯ เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับประโยคเดิม ดังตัวอย่าง

ประโยค

คำเชื่อม

ประโยค
ภาคประธาน ภาคแสดง ภาคประธาน ภาคแสดง
คุญยาย ชอบกุหลาบ แต่ คุณแม่ ชอบกล้วยไม้

           2.ลำดับคำในประโยค            การเรียงลำดับในประโยค ในภาษาไทยมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการบอกตำแหน่ง หน้าที่ของคำในประโยค หากเรียงผิดที่ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใครใช้ให้ไป ใครไปให้ใช้ ใช้ใครไปให้ ให้ใครใช้ไป

          

3.ความยาวของประโยค            ประโยคจะยาวออกไปได้ถ้ามีรายละเอียดมากขึ้น เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับ เวลา สถานที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ นอกจากนี้ประโยคอาจจะยาวเพราะมีคำขยายนามหรือกริยาในประโยค ถ้าไม่ต้องการให้ประโยคยาวเกินไป อาจจะแยกรายละเอียดไว้อีกประโยคหนึ่งหรือหลายประโยคก็ได้ หรืออาจจะใช้การละคำซ้ำ ข้อความซ้ำ การหาคำอื่นมาแทนเพื่อให้ประโยคสั้นลงก็ได้

ตัวอย่าง

                    1.  คุณสมศักดิ์ได้รับเลือกเป็นประธาน                     2.  คุณสมศักดิ์ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการชมรมวิทยาศาสตร์                     3.  คุณสมศักดิ์ที่เป็นพี่ชายคุณน้อยได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการชมรมวิทยาศาสตร์คนล่าสุด

          

4.เจตนาของผู้ส่งสารที่แสดงออกในประโยค            ถ้าแบ่งประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสารจะได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

                     1.ประโยคแจ้งให้ทราบ คือประโยคบอกเล่า แจ้งความบางเรื่อง อาจจะเป็นความสั้น ๆ หรือบอกรายละเอียดซึ่งผู้แจ้งจะใช้วิธีการขยายความประโยค โดยใช้ภาคขยาย ประโยคแจ้งให้ทราบมีเนื้อความปฏิเสธจะมีคำปฏิเสธ เช่น ไม่ มิ หามิได้ อยู่ด้วย
                               ตัวอย่าง                                ก.  นักเรียนบางคนชอบเรียนหนังสือ               (ประโยคแจ้งให้ทราบ)                                ข.  นักเรียนบางคนไม่ชอบเรียนหนังสือ            (ประโยคแจ้งให้ทราบที่มีเนื้อความปฏิเสธ)

                     2.ประโยคถามให้ตอบ คือประโยคสอบถาม มีลักษณะประโยคเช่นเดียวกับประโยคแจ้งให้ทราบแตกต่างกันแต่เพียงว่าประโยคถามให้ตอบจะมีคำ ไหน ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร หรือ ถ้าถามให้ตอบใช้เชิงปฏิเสธจะใช้คำปฏิเสธ หรือไม่ ไหม


                              

ตัวอย่าง                                ก. คุณชอบอ่านเรื่องแปลหรือ         (ประโยคถามให้ตอบ)                                ข. คุณไม่ชอบอ่านเรื่องแปลหรือ      (ประโยคถามให้ตอบที่มีเนื้อความปฏิเสธ)                                ก. ใครอยากไปเที่ยวบ้าง              (ประโยคถามให้ตอบ)                                ข. ใครไม่อยากไปเที่ยวบ้าง           (ประโยคถามให้ตอบที่มีเนื้อความปฏิเสธ)

                     3.ประโยคบอกให้ทำ

คือประโยคคำสั่งหรือขอร้อง ประโยคชนิดนี้ มีรูปประโยคคล้ายกับประโยคแจ้งให้ทราบ แต่มีข้อจำกัด คือ

ประธาน – ผู้ฟัง  

สรรพนามบุรุษที่ 2

คุณ ท่าน แก เธอ

สรรพนามบุรุษที่1

 เรา

   

 ซิ

 

ส่วนท้ายประกอบด้วยคำอนุภาค 

 นะ

   

ถอะ

                     ประโยคบอกให้ทำที่มีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำอย่านำหน้าคำกริยา หรือถ้ามีคำช่วยกริยา ต้อง อยู่หน้าคำกริยา ก็จะมีคำปฏิเสธไม่อยู่หลังคำช่วยกริยา คือใช้ว่า “ต้อง.....ไม่”

                                ตัวอย่าง

                                ก.  เปิดไฟซิ                         (ประโยคบอกให้ทำ)

                                ข.  อย่าเปิดไปซิ                    (ประโยคบอกให้ทำที่มีเนื้อความปฏิเสธ)

หลักทั่วไปในการร้อยเรียงประโยค            วิธีการร้อยเรียงประโยคให้มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันมี 4 วิธีดังต่อไปนี้                      ก. การเชื่อม                      ข. การซ้ำ                      ค. การละ                      ง. การแทน

           การร้อยเรียงประโยคโดยการเชื่อม ส่วนที่ใช้เชื่อม คือ สันธานหรือสันธานวลี ช่วยในการร้อยเรียงประโยคเพื่อแสดงความหมายในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้


                     1. เชื่อมเพื่อแสดงเนื้อความคล้อยตามกัน คำหรือวลีที่ใช้เชื่อม เช่น และ, ทั้ง, ทั้ง...และ, รวมทั้ง, อนึ่ง, อีกประการหนึ่ง
                               ตัวอย่าง                                (1) ทั้งหญิงและชายต่างไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                                (2) ข้าราชการ พ่อค้าประชาชน รวมทั้งนักเรียน นิสิตนักศึกษาพร้อมใจกันบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

                     2. เชื่อมเพื่อแสดงเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คำหรือวลีที่ใช้เชื่อม เช่น หรือ, มิฉะนั้น, หรือไม่ก็


                               ตัวอย่าง                                (1) เธอจะเลือกคณะรัฐศาสตร์หรือคณะนิติศาสตร์                                (2) คุณต้องสอบวิชาพื้นฐานให้ผ่านทุกวิชา มิฉะนั้นก็จะไม่จบหลักสูตร

                     3. เชื่อมเพื่อแสดงเนื้อความขัดแย้งกัน คำหรือวลีที่ใช้เชื่อม เช่น แต่, ทว่า, แต่ทว่า, แม้ว่า...ก็ยัง, ถึง...ก็


                               ตัวอย่าง                                (1) วันสอบคัดเลือกใกล้เข้ามาแล้ว แต่ฉันยังไม่ได้เริ่มดูหนังสือเลย                                (2) แม้ว่าใคร ๆ จะตักเตือนเขา เขาก็ยังประพฤติตนเหลวไหลเช่นเดิม

                     4. เชื่อมเพื่อแสดงเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน คำหรือวลีที่ใช้เชื่อม เช่น จน, จึง, เลย, ดังนั้น...จึง, เพราะ...จึง


                               ตัวอย่าง                                (1) เพราะเขาคบเพื่อนเลว ชีวิตของเขาจึงตกต่ำเช่นนี้                                (2) เด็กคนนั้นตั้งใจเรียนอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเขาจึงสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้

                     5. เชื่อมเพื่อแสดงเนื้อความที่เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เป็นเงื่อนไข คำหรือวลีที่ใช้เชื่อม เช่น ถ้า...ก็, ถ้า...แล้ว, เมื่อ...ก็


                               ตัวอย่าง                                (1) เมื่อเขาไม่ทำตามสัญญา เราก็ไม่ควรเชื่อถือเขาอีกต่อไป                                (2) ถ้าเธอไม่เริ่มทบทวนวิชา แล้วเธอจะหวังผลในการสอบได้อย่างไร

                    

6. เชื่อมเพื่อแสดงเนื้อความที่เกี่ยวข้องกันทางเวลา คำหรือวลีที่ใช้เชื่อม เช่น แล้ว, แล้วจึง, ต่อจากนั้น, ต่อมา
                               ตัวอย่าง                                (1) เขาเล่นกับสุนัขตัวโปรดราวครึ่งชั่วโมง ต่อจากนั้นจึงไปรดน้ำต้นไม้

                               (2) ที่ตรงนั้นกลายเป็นชุมชน ต่อมาก็เปลี่ยนสภาพเป็นเมืองใหญ่

           การร้อยเรียงประโยคโดยการซ้ำ            การซ้ำจะช่วยให้เนื้อความในประโยคที่ร้อยเรียงกันมีความชัดเจน บางครั้งก็ช่วยเน้นความ ส่วนที่ซ้ำจะปรากฏในประโยคหลัง อาจเป็นคำหรือวลีก็ได้ ซ้ำคำหรือวลีที่กล่าวถึงแล้วในประโยคแรก บางครั้งส่วนที่ซ้ำนี้อาจมีคำนิยมวิเศษณ์ (นี้, นั้น, โน้น, นี่, นั่น, โน่น) มาขยายด้วย

                     ตัวอย่าง

                    (1) วรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของลิลิตวรรณคดีเรืองนี้มีปัญหาว่าใครเป็นผู้แต่ง และแต่งในสมัยใด                     (2) ครูและนักเรียนอยู่ในห้องประชุม นักเรียนกำลังประชุมกันโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา

          

การร้อยเรียงประโยคโดยการละ            ในการร้อยเรียงประโยค บางครั้งจำเป็นต้องละคำบางคำเพื่อความสละสลวยและความกระชับรัดกุมของภาษา ถ้ากล่าวซ้ำในทุก ๆ ประโยค อาจเป็นการใช้ภาษาฟุ่มเฟือย ทำให้เสียความไพเราะของภาษาได้

                     ตัวอย่าง

                     (1) พ่อขุนรามคำแหงฯ ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 (ละประธาน “พ่อขุนรามคำแหงฯ” หน้ากริยา “ทรงประดิษฐ์”)                      (2) ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ (ละประธาน “ประเทศไทย” หน้ากริยา “เป็น”)

          

การร้อยเรียงประโยคโดยการแทน            คำหรือวลีที่ใช้แทนคำหรือวลีในประโยคแรก ส่วนใหญ่จะเป็นคำสรรพนาม สรรพนามวลี คำนาม นามวลี การใช้คำแทน เพราะประโยคหลังกล่าวถึงสภาพ เหตุการณ์ การกระทำหรือสิ่งเดียวกัน

                     ตัวอย่าง

                     (1) ข้าราชการคือผู้รับใช้ประชาชน เขาเหล่านั้นจะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด (แทนคำว่า “ข้าราชการ”)                      (2) สามัคคีคือพลัง ขอให้พวกเราทุกคนยึดมั่นในคุณธรรมดังกล่าว (แทนคำว่า “สามัคคี”)                      (3) ฉันได้ลูกสุนัขมาจากคุณป้า มันน่ารักมาก (แทนวลี “ลูกสุนัข”)                      (4) เรื่อง “ดวงอาทิตย์ที่รัก” เป็นผลงานของ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เรื่องสั้นเรื่องนี้มาจากจินตนาการที่ตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์ (แทน “เรื่องดวงอาทิตย์ที่รัก”)

          

ความรู้เรื่องประโยคมีประโยชน์ดังนี้            1. ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ประโยคที่ซับซ้อนได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

           2. ช่วยให้สร้าง หรือสังเคราะห์ประโยคได้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา

                                                                                                                                 

Page 2

การใช้ถ้อยคำให้มีประสิทธิผล            การใช้ถ้อยคำนั่นมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือช่วยให้มนุษย์สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิผล มนุษย์จะใช้ถ้อยคำให้มีประสิทธิผลได้จำเป็นต้องรู้จักถ้อยคำและเข้าใจความหมายของถ้อยคำเป็นอย่างดี ดังนี้

2.วิธีการใช้ถ้อยคำ การใช้ถ้อยคำให้มีประสิทธิผลมีข้อควรคำนึงดังต่อไปนี้                      2.1  การใช้คำให้ตรงตามความหมาย                      2.2  การใช้คำให้ตรงตามความนิยมของผู้ที่ใช้ภาษาเดียวกัน                      2.3  การใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล                      2.4  การใช้คำไม่ซ้ำซาก คือ รู้จักหลากคำ

                     2.5  การใช้คำให้เห็นภาพ


Page 3

ส่วนประกอบของภาษา            ทุกภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย  แต่มีบางภาษาที่มีตัวหนังสือหรือมีตัวอักษรแทนเสียงเพื่อสื่อความหมาย  เช่นภาษาไทย  ชุมชนที่มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรย่อมพัฒนาไปได้รวดเร็วกว่าชุมชนที่ไม่มี  เพราะภาษาเขียนช่วยเก็บสะสม  สืบทอดความรู้  ความคิดและประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนมาสู่คนรุ่นหลัง  และยังเผยแพร่ไปได้กว้างขวาง            ภาษาเขียนของบางชนชาติ  เช่นภาษาจีน  เป็นตัวเขียนแทนคำ  เพราะมีวิวัฒนาการมาจากภาพตัวเขียนหนึ่งตัวใช้แทนคำหนึ่งคำ  ภาษาจีนจึงมีตังเขียนจำนวนมากพอ ๆ กับจำนวนคำ            บางภาษาใช้ตัวเขียนแทนพยางค์  เช่น  ภาษาญี่ปุ่น  ตัวเขียนแต่ละตัวออกเสียงเป็นพยางค์  ซึ่งประกอบด้วยเสียงพยัญชนะและเสียงสระ  พยางค์หนึ่ง ๆ อาจใช้คำในหลายคำ  ตัวเขียนจึงมีน้อยกว่าตัวเขียนแทนคำ            ตัวเขียนประเภทสุดท้ายใช้แทนเสียงเรียกว่า  “อักษร”  อักษรตัวหนึ่ง ๆ  มักใช้แทนเสียงหนึ่ง ๆ ภาษาเขียนที่ใช้ตัวอักษรมีตัวเขียนไม่มากเพราะ  แต่ละภาษามีเสียงจำนวนจำกัด            ภาษาทุกภาษามีเสียงสระเสียงพยัญชนะ  มีน้อยภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ด้วย  เช่น  ภาษาไทย  ภาจีน  และภาษาลาว  ตัวอักษรในภาษาไทยจึงมีทั้งสระ  พยัญชนะ  และวรรณยุกต์

          ลักษณะควรสังเกตของเสียงและอักษรไทยทั้ง  ๓  ประเภท  คือ


          พยัญชนะ
                     เสียงพยัญชนะในภาษาไทย  มีทั้งหมด  ๒๑ เสียง  ๔๔ รูป  เราจะใช้เป็นตัวสะกดและพยัญชนะต้น                      การที่เสียงพยัญชนะบางเสียงมีตัวพยัญชนะแทนได้หลายตัว  เพราะ                      1. ไทยรับเอาคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตมาเป็นจำนวนมาก                      2.  ภาษาเขียนของไทยมีอักษรคู่  คือ  อักษรต่ำคู่กับอักษรสูง                     การเขียนคำต่าง ๆ  ในภาษาไทยมีผู้ตั้งหลักสังเกตได้หลายอย่าง  อาทิ                                - หลักการใช้  ณ  กับ  น                                - หลักการใช้  ศ  ษ  ส                     แต่ถึงจะมีหลักอยู่ก็ยังมีผู้ใช้สับสน  ทั้งนี้เพราะหลักเกตนั้นอาศัยที่มาของคำเป็นสำคัญถ้าไม่รู้ว่าคำนั้น ๆ  มาจากภาษาใด  ก็ไม่รู้ว่าควรใช้หลักข้อใด                     ลักษณะที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ  รูปพยัญชนะบางรูปไม่ออกเสียง  เป็นต้นว่า

                    1. รูปพยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ  อาทิ  องค์  สังข์  สงฆ์


                    2. รูปพยัญชนะ  ร  หรือ  ห  ในคำบางคำ  อาทิ  สามารถ  พรหม  พราหมณ์  ปรารถนา
                    3. รูปพยัญชนะ  ธ,ร  ในคำบางคำ  อาทิ  พุทธ  ภัทร  จิตร
                    4. ร  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอักษรควบไม่แท้  อาทิ  ไทร  ทราม  จริง
                    5. ห  หรือ  อ  ซึ่งนำอักษรต่ำเดี่ยว  อาทิ  หนาว  อยาก  หงอย  อยู่                     6. คำบางคำมีเสียงพยัญชนะ  แต่ไม่ปรากฏรูป  อาทิ  ขำ  มีเสียง  ม  สะกด  แต่ไม่มีรูป                     เมื่อได้ยินคำว่า  กาน  เราจะต้องรู้ว่าเขียน  กาน  การ  กานต์  กานท์  กาญจน์  หรือกาฬ  โดยอาศัยบริบท  หรือเมื่อได้ยินคำ  พรม  ก็จะต้องรู้ว่าเขียน  พรม  หรือ  พรหม  โดยอาศัยบริบทเช่นกัน

          

สระ           เดิมสระ  ในภาษาไทยมี  ๒๑ รูป  ๓๒ เสียง  แบ่งเป็น           สระเดี่ยว           ๑๘ เสียง           สระประสม           ๖ เสียง           สระเกิน               ๘ เสียง

                    สระเดี่ยว  หรือ  สระแท้  มี  ๑๘  เสียง  แบ่งเป็นสระเสียงสั้น  ๙  เสียง  สระเสียงยาว ๙ เสียง  ดังนี้


                     สระประสม  นักภาษาศาสตร์บางคนเรียกว่า  สระเลื่อน  มี  ๖  เสียง  คือ

                    

สระเกิน  มี  ๘ เสียง  ได้แก่  อำ  ไอ  ใอ  เอา  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ  ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเสียงสระทั้ง  ๘  นี้เป็นพยางค์   เพราะมีทั้งเสียงพยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  และวรรณยุกต์  อาทิ  อำ  อ  เป็นพยัญชนะต้น  สระอะ  มี  ม  เป็นตัวสะกด  มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ  เอา  อ  เป็นพยัญชนะต้น  สระอะ  มี  ว  เป็นตัวสะกด  มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ  เป็นต้น                       การใช้รูปสระแทนเสียงสระในภาษาไทย  ยังมีลักษณะที่ควรสังเกตอื่น ๆ  ดังนี้                      1. เสียงสระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป  เช่น  อะ  มี  ม  เป็นเสียงพยัญชนะท้ายหรือเป็นตัวสะกด  อาจใช้ –ำ –ัม –รรม  ทำสับสนว่าคำ  เช่น  “อัมพร”  ที่แปลว่า  ท้องฟ้า  จะสะกดอย่างไร  “กรรม”  ที่แปลว่า  การกระทำ  จะสะกดอย่างไร  เป็นต้น                      2. คำบางคำรูปสระบางรูปไม่ออกเสียง  อาทิ  -ิ  และ –ุ  ในคำว่า  ธาตุ  เหตุ  ญาติ  เป็นต้น                      3. คำบางคำมีเสียงสระ  อะ  แต่ไม่ปรากฏรูปวิสรรชนีย์  อาทิ  ทลาย  อร่อย  อร่าม  สนิท  เป็นต้น

                     4. รูปสระบางรูปมีเสียงซ้ำกัน  เช่น  เ-อ  กับ  เ-ิ ,  ใ-  กับ  ไ-  เป็นต้น  เช่นในคำว่า  เกิด  เทิน  เทอม  เทอญ  ไข่  ใฝ่  ไยดี  ลำไย  เป็นต้น

           คำบางคำรูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน  พยัญชนะต้น  สระ  และพยัญชนะตัวสะกดก็มีความสำคัญต่อการผันวรรณยุกต์เช่นกัน  ดังที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น การเขียนภาษาไทยในปัจจุบันแม้จะมีลักษณะต่าง ๆ  ที่คิดว่าเป็นปัญหาอยู่บ้างก็ตาม  แต่ก็มีข้อดีเป็นอันมาก  อาทิ            1. ช่วยให้ทราบความหมายของคำพ้องเสียง  เมื่อเราเขียนโดยพยายามรักษารูปคำเดิมไว้  อาทิ  การ  กาล  กาญจน์  กานท์  กาน  กาฬ

           2. ช่วยในการสันนิษฐานการออกเสียงคำต่างๆ  ในสมัยก่อนได้  อาทิ  คำที่ใช้ไม้ม้วนมี  ๒๐  คำ  เท่านั้น  สำหรับคำที่ออกเสียง  ย  ก็มีทั้งใช้อักษร  ญ  อย  หย  ย  ซึ่งต่อมาเสียงของคำเหล่านี้เปลี่ยนไปโดยเฉพาะในภาษาไทยกลาง  คือ  ออกเสียงเหมือนกันหมด

          เสียงหนักและเสียงเบา            ส่วนประกอบของภาษาไทยอีกประการหนึ่งคือ  การออกเสียงคำไทยนั้น  โดยปกติมิได้ออกเสมอกันทุกพยางค์  กล่าวคือ  ถ้าคำพยางค์เดียวในประโยคบางคำก็อาจไม่ออกเสียงหนัก  และถ้าเป็นคำหลายพยางค์   แต่ละพยางค์ก็อาจออกเสียง  เช่น

                    ทรัพยากร           ลงเสียงหนักที่  ทรัพ  ยา  และกร                     เจดีย์ยุทธหัตถี      ลงเสียงหนักที่  ดีย์  ยุท  หัต  และถี                     พยางค์  เกิดจากพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์  ระกอบกันขึ้น            การออกเสียงคำไทยนั้นโดยปกติมิได้ออกเสมอกันทุกพยางค์จะมีเสียงหนักเบาไม่เท่ากันตำแหน่งของพยางค์ในคำมีข้อสังเกตด้วยคือ  บางพยางค์อาจปรากฏร่วมกับพยางค์อื่นจึงจะมีความหมายแต่บางพยางค์ก็ได้  การลงเสียงหนักเบาจะลงเสียงหนักเบาตามหน้าที่และความหมายของคำในประโยคไม่เท่ากันส่วนใหญ่เราจะเน้นหนักกับคำที่เป็นประธาน  กริยา  กรรม  หรือคำที่ทำหน้าที่ขยายประธาน  กริยา  กรรม   ส่วนคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของคนอื่นทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมเรามักจะไม่เน้นเสียงหนัก            อีกประการหนึ่งหากเนาพิจารณาถึงเจตนาของผู้ส่งสาร  หรือผู้พูด  การลงเสี่ยงหนักเบาของคำก็จะลงตามอารมณ์ความรู้สึกนั้น ๆ  เช่น

                     คุณแม่กะจะไปเชียงใหม่กะคุณพ่อ


                     เขานั่งเฉย ๆ  รถ  เลย  เลย  ไปเลย


Page 4

           คำว่า “วัฒนธรรม” ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยปัจจุบันนี้มีความหมายกว้าง ใช้ได้หลายโอกาสหลายบริบท  อาจหมายถึงประเพณี หรือ สิ่งหนึ่งในโอกาสหนึ่ง หรือ อีกสิ่งหนึ่งในอีกโอกาสหนึ่ง
           แต่ในที่นี้  วัฒนธรรม  หมายถึง ระบบการดำเนินชีวิต  หรือ แบบแผนชีวิต  รวมถึงเครื่อง
อุปโภคและบริโภค สถาบัน  ประเพณี  ศิลปะ  ความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมของตน  ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะไม่นับว่าเป็นวัฒนธรรมแต่ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา จึงจัดว่าเป็นวัฒนธรรมสาขาหนึ่งด้วย

มนุษย์กับวัฒนธรรม            มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่เลี้ยงลูกด้วยนม  อยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับสัตว์บางชนิด  การอยู่รวมกันของมนุษย์และสัตว์นั้นจำเป็นต้องมีวัฒนธรรมของกลุ่มตน  เช่น มีระบบการปกครอง  มีกฎเกณฑ์สังคมของสัตว์  เพราะมนุษย์มีภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดลักษณะและรักษาวัฒนธรรม  จนทำให้เกิดสถาบันต่างๆ ขึ้นมากมาย  อาทิ

           สถาบันการปกครอง  เป็นสถาบันแรกของมนุษย์ที่มีผู้นำหรือหัวหน้าเป็นผู้ควบคุม  โดยการใช้กำลัง


           สถาบันการสืบสกุล  พัฒนามาจากสถาบันการปกครอง  เพราะผู้นำได้ให้การอบรมสั่งสอนลูกหลานของตนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ  จนทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วๆไป แต่ก็จำเป็นต้องมีกำลังทหารไว้ให้การสนับสนุน  บางหมู่ก็มีระบบเลือกตั้ง  โดยพิจารณาเลือกจากผู้ที่มีฝีมือดีเด่น  ระบบการเลือกตั้งพัฒนาเรื่อยมาจนถึงขั้นการเลือกตั้งโดยสันติในปัจจุบัน
           สถาบันศาลสถิตยุติธรรม   เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการพิพาทระหว่างกัน เริ่มต้นจากการวินิจฉัยโดยใช้กำลังหรือความฉลาด  ความสามารถของผู้เป็นหัวหน้า  จนพัฒนามาเป็นระบบศาลและกฎหมายในปัจจุบัน
           สถาบันศาสนา  มนุษย์มีความเชื่อถือและเลื่อมใสในอำนาจต่างๆ อาทิ  อำนาจของเทพเจ้าหรือพระผู้เป็นเจ้าที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ อำนาจของเทพเจ้าประจำภาวะธรรมชาติต่างๆ เช่น เทพแห่งทะเล  เทพแห่งขุนเขา เป็นต้น            ศาสนาที่สอนให้มนุษย์นับถือพระผู้เป็นเจ้ามักมีศาสดาเป็นผู้แทนมาสั่งสอนคุณธรรมและพิธีกรรมต่างๆ            ต่อมาได้เกิดมีนักปราชญ์ที่มิใช่ผู้แทนของเทพเจ้าขึ้น  นักปราชญ์พวกนี้จะสอนเฉพาะความประพฤติในสังคมเท่าที่เห็นอยู่เท่านั้น นักปราชญ์ชนิดนี้มีมากในประเทศจีนและกรีซ            ศาสนาบางศาสนามีศาสดาที่มิใช่ผู้แทนของเทพเจ้า  แต่มีความรู้แจ้งเห็นจริงได้โดยตนเองจึงให้การอบรมสั่งสอนเฉพาะศีลธรรมเท่านั้น ไม่สอนเรื่องพิธี  เช่น  พุทธศาสนาและบางศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นต้น

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า  การที่วัฒนธรรมของมนุษย์เจริญก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้  เพราะมนุษย์มีภาษาสำหรับสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรมนั่นเอง

ความหลากหลายของวัฒนธรรม            วัฒนธรรมของชนต่างหมู่ต่างเหล่ามีความหลากหลายต่างกันไปด้วยเหตุนานาประการที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้คือ

           1.ภูมิอากาศ  ภูมิอากาศที่แตกต่างกันก็จะมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วย


           2.ที่ตั้ง  มนุษย์อาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ กันไป  ประเพณีต่างๆ ก็มักจะเกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตของหมู่ชนปรับเข้ากับที่ตั้งนั้นๆได้
           3.ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น  ทำให้มนุษย์มีลักษณะนิสัย ค่านิยม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันไปผู้ที่อยู่ในความอุดมสมบูรณ์ ก็จะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีชีวิตง่ายๆ ไม่วิตกกังวลทำให้ไม่คิดวางแผนถึงวันข้างหน้า  ส่วนกลุ่มชนที่แร้นแค้นจะหวงแหนทรัพย์สมบัติที่ตนมีเพราะกว่าจะหามาได้นั้นยากลำบาก อาจทำให้อุปนิสัยในทางยักยอกฉ้อฉล จึงทำให้ค่านิยมของคนในวัฒนธรรมหนึ่งๆ เกิดจากเหตุธรรมชาติอยู่มิใช่น้อย

           4. กลุ่มชนแวดล้อม  มักมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง  กลัวการกระทบกระทั่ง  กลัวภัยอันตรายหากพวกตนอยู่ใกล้กลุ่มชนที่มีอำนาจมากกว่า  และจะรุกรานชนกลุ่มน้อยที่ด้อยกว่าพวกของตน  ทำให้เกิดค่านิยมไปในทางที่จะแสดงอำนาจ


           5. นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน  หากในกลุ่มชนนั้นมีนักปราชญ์หรือประมุขที่ดีเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นกับกลุ่มชนของตนก็จะสามารถป้องกัน
ศัตรูและสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่หมู่ของตนได

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
           เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม  คือ  แบบแผนของการมีชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่งๆ ที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างกับวัฒนธรรมอื่นๆ
           เอกลักษณ์ทางกายภาพของบุคคล  คือ สิ่งที่ทำให้เห็นว่าบุคคลหนึ่งเป็นตัวบุคคลผู้นั้น  มิใช่บุคคลอื่น อาทิ  รูปร่างหน้าตา  ลายมือ  ลายเซ็น  ลายเส้นบนฝ่ามือและตามนิ้วมือ             บางชาติอาจถือว่า ภาษาที่ใช้อยู่เป็นปกติในการดำเนินชีวิตเป็นเอกลักษณ์ อาทิ ชาติไทย  แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางชาติ  อาทิ  สหรัฐอเมริกาที่มีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยเฉพาะน้อยมาก  เพราะแม้จะใช้ภาษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการและในกิจการสำคัญอื่นๆ ก็จริงแต่ภาษาอังกฤษก็มิใช่เอกลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาเพราะหลายชาติในโลกนี้ก็ใช้ภาษาอังกฤษ เช่นกัน            ศิลปสถาน  อาทิ  เจดีย์  โบสถ์  วิหาร  ในประเทศๆไทยที่เราเห็นๆ  กันอยู่ก็เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติเช่นกัน  เพราะศิลปะแต่ละชาติก็เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดเฉพาะตัวของศิลปินในชาตินั้นๆ ซึ่งก็ย่อมแสดงออกตามวัฒนธรรมของชาติตนด้วย  แม้ศิลปินบางคนจะสร้างสรรค์ศิลปะที่เป็นแบบสากล  ที่เรียกกันว่า “แบบแผนระหว่างชาติ”  ขึ้นมาด้วยก็ตาม            เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติไทยนั้นมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่เพลงชาติไทยและภาษาไทย  ทางนามธรรม ได้แก่  ความอารี  แต่ถ้าจะให้รู้แน่ว่าเอกลักษณ์ของชาติใดเป็นอย่างไรโดยไม่นับสิ่งที่เป็นรูปธรรม  และสามารถพูดได้เต็มปากก็จะต้องศึกษาประวัติของชาติและประวัติสังคมของชาตินั้น ๆ  สิ่งที่จะนำให้เรากล่าวได้ด้วยความมั่นใจว่าเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติไทยมีอยู่หลายอย่าง คือ

           1. ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา   เราไม่หวงแหนตำแหน่งสำคัญ ๆ ในบ้านเมืองไว้เฉพาะคนที่สืบสายเลือดไทยเท่านั้น

เราไม่กีดกันคนที่ต่างศาสนาหรือต่างเชื้อชาติ

           2. เสรีภาพทางศาสนา  เราอนุญาตให้ทุกศาสนาในประเทศไทยของเราประกอบพิธีทางศาสนาของตนได้โดยไม่ขัดขวาง  หากยังให้การอนุเคราะห์อีกด้วย  ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก


           3. ความรักสงบ  คนไทยไม่นิยมที่จะไปรุกรานชาติอื่น  หากจะรบก็รบเพื่อป้องกันอธิปไตยของประเทศเท่านั้น
           4. ความพอใจการประนีประนอม  คนไทยไม่นิยมการห้ำหั่น  หรือความเคียดแค้นนิยมประนีประนอมกันมากกว่า
           5. การไม่แบ่งชั้นวรรณะ  ไม่มีการกดขี่คนกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างกันไม่ว่าในด้านศาสนา เชื้อชาติ หรือเพศ  ถ้าหากมีชนชั้นก็มีการเปลี่ยนชั้นฐานะกันได้

ภาพสะท้อนวัฒนธรรมจากภาษา            วัฒนธรรมหรือระบบชีวิตของหมู่ชนบันดาลให้ภาษาพัฒนาไปตามลักษณะของสถาบัน และค่านิยมของหมู่ชนชั้น  เราจะเห็นภาพสะท้อนวัฒนธรรมได้อย่างดีโดยพิจารณาจากภาษาไทยดังนี้ 

           1.วัฒนธรรมไทยนิยมลดหลั่นชั้นเชิง   จะเห็นได้จากคำแสดงเครือญาติของไทยเรามีลักษณะแสดงความแตกต่างของด้านวัยวุฒิ  ได้แก่  ลุง  ป้า  น้า   อา  พี่  น้อง  ฯลฯ  คำที่แสดงความแตกต่างทางด้านชาติวุฒิ  ได้แก่  ราชาศัพท์ที่ใช้กับพระราชวงศ์  และถ้อยคำที่ใช้กับพระภิกษุก็แตกต่างไปจากคำทั่วๆไป


           2. วัฒนธรรมไทยนิยมใช้คำแทนตัว  เป็นคำบอกเครือญาติ อาชีพ และตำแหน่ง  ซึ่งแสดงว่าคนไทยให้ความสำคัญแก่ญาติ  แก่อาชีพ  แก่ตำแหน่ง 
           3. วัฒนธรรมไทยนิยมใช้คำไทยแท้และคำไทยเดิมในการสนทนา ในการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการแต่ถ้าอย่างเป็นทางการก็จะใช้ภาษาอีกแบบหนึ่งคือ  เป็นภาษาทางการ  และศัพท์บางคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต  อาทิ  ชื่อคน  แต่สำหรับคำบางคำที่ไม่สามารถบัญญัติศัพท์ขึ้นมาได้ก็จะใช้ทับศัพท์  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า  คนไทยให้ความสำคัญแก่วัฒนธรรมต่างชาติ และยินดีรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาประสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทยอย่างมีเหตุผล

           4. วัฒนธรรมไทยนิยมใช้คำศัพท์แสดงความละเอียดในการกล่าวถึงเรื่องใกล้ตัว อาทิ คำแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แต่ละคำเป็นอิสระ

และคำขยายในภาษาไทยก็มีมากกว่าภาษาอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคำขยายรสอาหาร ศัพท์ทางดนตรี ศัพท์ทางนาฏศิลป์

           5.  วัฒนธรรมไทยนิยมใช้คำที่มีความหมายเฉพาะใช้อย่างครบครัน  อาทิ  สิ่งมีชีวิต  เช่น หมี  หมา  ช้าง  ควาย  ชะนี  ลิง  ค่าง  รวมเรียกว่า  “สัตว์” และ 


“ช้างม้าวัวควาย”  หมายถึง สัตว์ใหญ่  , “ลิงค่างบ่างชะนี”  หมายถึง  สัตว์ที่ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ , “หมูหมากาไก่”  หมายถึง  สัตว์เลี้ยง , “เสือสิงห์กระทิงแรด”  หมายถึง สัตว์ดุร้ายมีเขี้ยวมีงา  เป็นต้น ส่วนสิ่งไม่มีชีวิต  อาทิ “ถ้วยโถโอชา” หมายถึง ภาชนะใส่อาหาร , “เรือกสวนไร่นา” หมายถึง  ที่ทำมาหากิน, “โคลงฉันท์กาพย์กลอน”  หมายถึง  บทร้อยกรอง  เป็นต้น

ภาษามาตรฐาน
           ภาษามาตรฐาน  คือ  สำเนียงสำนวนภาษาที่คนซึ่งได้รับการศึกษาจากโรงเรียนจำนวนมากใช้คล้ายคลึงกัน  และไม่รังเกียจว่าผิดหรือแปลกหู  ส่วนภาษาที่ไม่เป็นมาตรฐานก็คือ สำเนียงสำนวนภาษาที่คนจำนวนมากรังเกียจ ไม่ยกย่อง 
           ประเทศที่เป็นเอกราชส่วนมากย่อมมีภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาราชการ  บางประเทศใช้ภาษาราชการมากกว่าหนึ่งภาษา  สำหรับประเทศไทยจะใช้ภาษากลาง  ซึ่งเป็นสำเนียงชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มาแต่เดิมเป็นภาษาราชการ  ภาษาราชการเริ่มเผยแพร่หลายทั่วไปนับตั้งแต่เริ่มมีการขยายการศึกษาภาคบังคับไปทั่วประเทศในสมัยรัชกาลที่ 6 และเรียกกันว่า “ภาษากลาง” หรือ
“ภาษากรุงเทพฯ” เนื่องจากภาษาราชการเป็นภาษาของคนที่ได้รับการศึกษา จึงได้ชื่อว่า “ภาษามาตรฐาน”

ความนิยมในการใช้ถ้อยคำคล้องจองในภาษาไทย
           คนไทยนิยมใช้คำสัมผัสคล้องจอง  เช่น  ภาษาในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  เป็นต้น  ซึ่งจะเห็นได้จากชื่อบุคคล ชื่อสถานที่  ชื่อตำรา  แม้แต่การรับฉันทลักษณ์ประเภทฉันท์มาใช้  ไทยก็เพิ่มความคล้องจอง  มีสัมผัสเข้าไปด้วย

ภาษากับการพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรม            เมื่อมนุษย์มีภาษาจึงทำให้เกิดการพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรมดังนี้            1. ภาษาทำให้มนุษย์มีการพัฒนาวัฒนธรรมของตนให้เจริญก้าวหน้ากว่าวัฒนธรรมของฝูงสัตว์

           2. ภาษาช่วยให้มนุษย์สามารถธำรงวัฒนธรรมและสืบทอดวัฒนธรรมได้ด้วย  โดยการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษานำไปใช้ประโยชน์  มนุษย์ที่เจริญแล้วนิยมให้วัฒนธรรมมีความเปลี่ยนแปลงได้อย่างพอประมาณพราะถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเกินไปจนคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ไม่อาจสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้  ซึ่งจะกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนรุ่นเก่าไม่สามารถสืบทอดประสบการณ์อันมีค่าของตนแก่คนรุ่นหลังได้

วรรณคดีกับวัฒนธรรม
           ศิลปะทุกชนิดเป็นเครื่องสื่อสารอารมณ์ของมนุษย์  รวมทั้งวรรณคดีซึ่งเป็นศิลปะแขนงหนึ่งวรรณคดีของชนกลุ่มใดก็ย่อมสะท้อนวัฒนธรรมของชนกลุ่มนั้น  วรรณคดีไทยสะท้อนชีวิตของคนไทยที่เต็มไปด้วยความรื่นเริงและความขบขัน  แต่สิ่งที่วรรณคดีไทยเดิมมักขาดประโยชน์ในการสืบทอดประวัติภาษาพูดทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่วรรณคดีไทยเดิมจะนิยมแต่งเป็นคำประพันธ์ร้อยกรอง  ที่แต่งเป็นร้อยแก้วก็ไม่มีบทเจรจาให้ทราบได้

ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม            ภาษาไทยและประเพณีที่ใช้กันอยู่เฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น มีค่าอย่างยิ่งแก่วัฒนธรรมของชนทั้งชาติ เพราะประเพณีบางแห่งแสดงที่มาของประเพณี อีกแห่งหนึ่งที่คนยังรักษาไว้โดยไม่เข้าใจ  ภาษาถิ่นยังมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ของคำอีกด้วยแต่อย่างไรก็ตามชนทุกกลุ่มทุกท้องถิ่นก็จำเป็นต้องเรียนภาษาไทยมาตรฐาน  เพื่อประโยชน์ต่อการสื่อสารกับเพื่อนร่วมชาติทั้งมวล  ทั้งทางเศรษฐกิจ  การเมือง และทางสังคม            ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม            ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรม  ได้แก่            สังคม  มีความหมาย ๒ อย่าง คือ

          

1. ความหมายเป็นรูปธรรม  หมายถึง  ชุมชนหรือกลุ่มชน เช่น กล่าวว่า “ในซอยที่ฉันอยู่เป็นสังคมไทยแบบใหม่ๆ  หาคนที่ปู่เคยรู้จักในรัชกาลที่ ๕ ไม่ได้เลย”  หมายความว่า ในซอยนี้มีแต่คนรุ่นใหม่เท่านั้น  เป็นต้น

          

2. ความหมายเป็นนามธรรม  ได้แก่  ความนึกคิด  ค่านิยมของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งว่า  “การมีลูกที่ไม่ตั้งใจจะให้มีเป็นปัญหาสังคม ถึงแม้เด็กจะอยู่กับพ่อแม ่ก็เป็นปัญหาอยู่ดี” ความหมายก็คือความวิตกกังวลเรื่องลูก  เป็นต้น

           สถาบัน  คือ องค์การที่รับผิดชอบเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ ใช้ในความหมายเชิงวิชาการว่ากฎเกณฑ์และประเพณีที่เกี่ยวเนื่องของหมู่ชน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของหมู่คณะ  เช่น สถาบันชาติ  สถาบันศาสนา  สถาบันศาลสถิตยุติธรรม  สถาบันครอบครัว  เป็นต้น
           ประเพณี  คือ  พฤติกรรมที่กระทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน  อาจเรียกว่า “ขนบประเพณี” หรือ “ขนบธรรมเนียม” ก็ได้  เช่น ประเพณีถวายอาหารพระภิกษุของไทย  ประเพณีรดน้ำผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์  ประเพณีฝังศพ  ประเพณีเผาศพ  แม้การแข่งขันฟุตบอลที่ทำกันเป็นประจำก็เรียก “ฟุตบอลประเพณี”  เป็นต้น
           ค่านิยม   คือ ความรู้สึกพอใจ  ความภาคภูมิใจ  ความรังเกียจ  ความละอายต่อการกระทำใดๆ หรือ พฤติกรรมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ค่านิยมเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา


Page 5

การสื่อสารเพื่อกิจธุระ
           กิจธุระ หมายถึง การงานที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ไม่เกี่ยวกับการขาดทุน การได้กำไร
           ธุรกิจ หมายถึง กิจที่เกี่ยวกับการค้า การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุน การได้กำไร การขาดทุน            การรับสารและการส่งสารเพื่อกิจธุระ ผู้ส่งสารต้องปฏิบัติดังนี้

                    

ความรู้ความเข้าใจของผู้ส่งสาร                      ความรู้ของผู้ส่งสารในเรื่องราวของกิจธุระที่จะส่ง เป็นความสำคัญอันดับแรกเพราะจะทำให้สารที่ส่งไปได้ผล ถ้าผู้ส่งสารไม่มีความรู้ก็จะส่งสารได้ไม่ชัดเจน ให้รายละเอียดได้ไม่เพียงพอ หรือแสดงความไม่แน่ใจ ทำให้ผู้ฟังไม่เชื่อถือ

                    

การส่งสารให้ตรงประเด็น                     ผู้ส่งสารควรกล่าวแต่เฉพาะประเด็นสำคัญเท่านั้น ไม่ควรแทรกเรื่องอื่นๆที่ไม่จำเป็นเข้าไป เพราะจะทำให้ผู้รับสารสับสน

                    

การลำดับความในสาร                     ผู้ส่งสารควรเล่าเรื่องให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันไปโดยตลอดอาจเรียงเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ เหตุผล ระยะทาง หรือความสำคัญก็ได้

                    

รายละเอียดของสารที่จะส่ง                     รายละเอียดของสารที่จะส่งมีความสำคัญ บางทีผู้ส่งสารให้รายละเอียดไม่เพียงพอ เพราะขาดความรู้ในเรื่องนั้นๆหรือคิดว่าไม่สำคัญก็จะทำให้การสื่อสารไม่ประสบความสำเร็จ

                    

ภาษาที่ใช้สื่อสาร                     ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอาจใช้ภาษาท่าทาง เครื่องหมาย หรืออาณัติสัญญาณก็ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือคำพูด และควรใช้ให้เหมาะกับ เพศ วัย ภูมิหลังและประสบการณ์ของผู้รับสาร การสื่อสารจึงจะสัมฤทธิ์ผล

                    

ความสนใจและความตั้งใจของผู้รับสาร                     ในการรับสารแม้ผู้ส่งสารจะพยายามส่งสารมาให้ชัดเจนเพียงใด หากผู้รับสารไม่สนใจและไม่ตั้งใจรับสารแล้วละก็  การสื่อสารนั้นก็จะสัมฤทธิ์ผลได้ยาก

                    การทบทวนให้เข้าใจตรงกัน
                    ผู้รับสารและผู้ส่งสารมีโอกาสจะเข้าใจไม่ตรงกันด้วย เหตุต่างๆกัน อาทิ มีภูมิหลังต่างกัน มีความสนใจไม่เหมือนกัน และขณะที่พูดอาจคิดไปถึงเรื่องที่ต่างกัน จึงต้องมีการทบทวนให้เข้าใจตรงกันด้วย

การใช้โทรศัพท์
           การสื่อสารทางโทรศัพท์ต่างจากการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้ากัน คือ ไม่สามารถรับส่งทางอวัจนภาษาได้นอกจากเสียงและน้ำเสียงของผู้พูดเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการเปล่งเสียงการใช้เวลาในการโทร ควรพูดแต่เนื้อหาสำคัญ และพูดอย่างชัดเจน ในการจดข้อความที่มีผู้สั่งข้อความไว้ ควรจดข้อความให้ครบถ้วน เพื่อผู้อ่านที่หลังจะได้ไม่งง และควรลงชื่อผู้รับข้อความ วัน เวลา ที่รับข้อความไว้ด้วย ก่อนวางหูควรกล่าวถ้อยคำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวก่อน และควรวางหูแต่เพียงเบาๆ

การใช้โทรสาร
           เครื่องโทรสาร เรียกสั้นๆว่า แฟกซ์ (Fax) สามารถใช้ได้ทั้งทางรับและส่งสารโดยต่อเข้ากับเครื่องโทรศัพท์มีลักษณะคล้ายการถ่ายสำเนา สารที่ส่งมาจึงถูกต้องตามต้นฉบับและถึงผู้รับโดยเร็วแต่ก็เป็นเพียงสำเนาของต้นฉบับจริงที่ยังไม่มีการลงนามรับรอง

การใช้ไปรษณียบัตร
           เป็นการส่งสารที่มีข้อความสั้นๆ ไม่เป็นความลับ มีขนาดกะทัดรัดไม่ต้องปิดดวงตราไปรษณียากร และมีราคาถูก


Page 6

          การสื่อสาร หมายถึง วิธีการต่างๆ ในการติดต่อระหว่างมนุษย์ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่ง
เครื่องมือของการสื่อสาร คือ ภาษา
          ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          1.วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ ตัวอักษรเป็นสื่อการติดต่อ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน
          2.อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำเป็นสื่อ แต่ใช้สีหน้า กิริยา ท่าทาง และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นสื่อการติดต่อ เช่น ภาษาใบ้ ภาษาคนตาบอด สัญญาณต่างๆ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย           1.บุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร           2.วิธีการติดต่อ เช่น ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม           3.เรื่องราวให้รับรู้ความหมายร่วมกัน ได้แก่ สารต่างๆ เช่น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ ข้อทักท้วง

          1. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร    


                    ผู้ส่งสาร  คือ  บุคคลที่เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ ผู้ส่งสารที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่                     1. มีจุดมุ่งหมายในการสื่อสารชัดเจน ว่าตนต้องการอะไร เช่น ต้องการถามเพื่อให้ผู้รับตอบหรือเพื่อต้องการให้ผู้รับสารทำตาม เป็นต้น                     2. มีความรู้ในเรื่องราวที่จะสื่อสารนั้นเป็นอย่างดี ถ้าผู้ส่งสารมีความรู้จะทำให้เรื่องราวที่ถ่ายทอดนั้นมีรายละเอียดที่ถูกต้องชัดเจน ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจและเชื่อถือ                     3. มีทักษะการใช้ภาษา ถ้าผู้ส่งสารมีความสามารถในการใช้ภาษาสูง จะทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการสื่อสารด้วย เช่น                     ต้องการให้ผู้ฟังช่วยบริจาคเงินผู้ส่งสารก็ต้องใช้ภาษาโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังอยากทำตามที่ตนต้องการ

                    ผู้รับสาร คือ บุคคลที่เป็นฝ่ายรับรู้เรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับสารจะรับสารได้ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่

                    1. มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่รับนั้น จะทำให้รับสารได้รวดเร็ว และเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น การสื่อสารก็จะได้รับผลสำเร็จมากขึ้น                     2. มีความสนใจ ตั้งใจรับสาร ผู้ส่งสาร จะส่งสารได้มีประสิทธิภาพเพียงใดก็ตาม ถ้าผู้รับสารไม่สนใจฟัง ก็จะไม่รู้เรื่อง

          2. สื่อ


                    สื่อ  คือ  ตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสารต่างๆ การติดต่อกันอาจใช้วิธีต่างๆ เช่น พูด เขียน ใช้รูปภาพ  โทรเลข ใช้สัญญาณต่างๆ ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ก็จะต้องใช้สื่อเป็นตัวกลางในการนำสารจากฝ่ายหนึ่ง เช่น การติดต่อกันทางโทรศัพท์ ตัวกลางคือ ระบบโทรศัพท์ การสนทนากัน ตัวกลางก็คือ คลื่นเสียง ในปัจจุบันสื่อที่แพร่หลายกันมากคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์
          3. สาร
                    สาร  คือ เรื่องราวที่มีความหมายที่ผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยทั่วไปแล้ว อาจแบ่งสารได้เป็น 3 ประเภท คือ                     1.สารที่เป็นข้อเท็จจริง  เป็นสารที่เกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นจริง                     2.สารที่เป็นความคิดเห็น เป็นสารที่เกี่ยวกับความนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ

                    3.สารที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก เป็นสารที่เกี่ยวกับความรู้สึกของบุคคล อาจเป็นความรู้สึก ดีใจ เสียใจ รัก เกลียด ชื่นชม

ประเภทของการสื่อสาร           การสื่อสารโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

          1.การสื่อสารกับตนเอง
          การสื่อสารกับตนเอง เป็นการสื่อสารลำดับแรก ก่อนที่เราจะสื่อสารกับบุคคลอื่นก็คือการที่เรานึกคิดหรือ พูดกับตนเองก่อน บางครั้งอาจเป็นการแสดงกิริยาอาการออกมา เช่น  คิดแก้ปัญหาแล้วถอนหายใจออกมา เป็นต้น


          2.การสื่อสารกับบุคคลอื่น           การสื่อสารกับบุคคลอื่น อาจเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน หรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้ เช่น การสนทนากัน ครูสอนนักเรียน

          3.การสื่อสารมวลชน


          การสื่อสารมวลชนเป็นการสื่อสารที่มีผู้รับสารเป็นจำนวนมาก การสื่อสารจะใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย เรื่องราวสื่อสารจะเป็นเรื่องที่รับรู้ร่วมกัน คนส่วนใหญ่สนใจ เช่น  ข่าวเหตุการณ์ต่างๆ

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร           ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

          1. วัจนภาษา หรือถ้อยคำ

          วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร ซึ่งตามปกติใช้กันอยุ่ทั่วไปในชีวิตประจำวันอาจเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน           เราใช้วัจนภาษาในการถ่ายทอดเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ ทั้งในขณะที่ติดต่อกัน และบันทึก เรื่องราวในอดีต ทำให้คนรุ่นใหม่ทราบเรื่องราวของคนในอดีตที่ผ่านมา ใช้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้

          2. อวัจนภาษา หรือภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ

          อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร โดยทั่วไปอวัจนภาษาจะใช้ประกอบวัจนภาษา ซึ่งจะทำให้การสื่อสารมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น อวัจนภาษาที่สำคัญ ได้แก่                     1. การแสดงออกทางใบหน้า ในขณะที่สื่อสารกันใบหน้าของบุคคลจะแสดงสีหน้าออกมาด้วย ซึ่งจะช่วยบ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ส่งสารได้เป็นอย่างดี เช่น สีหน้ายิ้มแย้ม แสดงว่าบุคคลนั้นมีอารมณ์ดี อารมณ์เป็นปกติ                     2. การใช้นัยน์ตา  เราคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ดวงตาคือหน้าต่างของดวงใจ” เพราะเมื่อ คนเรานึกคิดอย่างไรก็จะแสดงอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกมาทางนัยน์ตาด้วย และยากที่จะเสแสร้ง ปิดบังความรู้สึกนั้น เช่น เมื่อโกรก นัยน์ตาก็จะดูแข็งกร้าวกว่าปกติ                     3. การแต่งกาย การแต่งกายมีผลต่อความรู้สึกของผู้ที่พบเห็น จะช่วยทำให้ผู้รับสารเกิด ความศรัทธา ความเชื่อถือ หรือหมดความเชื่อถือได้  การแต่งกายเหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะ จะช่วยให้ผู้ที่แรกเห็นเกิดความรู้สึกที่ดี เช่น ถ้าครูใส่รองเท้าแตะเข้ามาสอนนักเรียนในห้อง ก็จะทำให้นักเรียนขาดความเชื่อถือ                     4. ท่ายืนและท่านั่ง ท่ายืนและท่านั่งจะช่วยบ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้นั้นได้แสดงความหมายต่างๆ ได้ เช่น ขณะที่พ่อกำลังอบรมลูก ลูกยืนฟังด้วยท่าทางเรียบร้อย ย่อมแสดงว่าลูกกำลังรับฟังคำสั่งสอนของพ่อ แต่ถ้าลูกยืนพิงหน้าต่าง เอามือล้วงกระเป๋า ย่อมแสดงให้เห็นว่าลูกมีท่าทางไม่ค่อยสนใจ ไม่อยากฟังที่พ่อพูด                     5. การใช้มือ แขน หรือการเคลื่อนไหว การใช้มือ แขน หรือการเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการพูด จะช่วยเน้นความหมายของสิ่งที่พูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พูดว่าเก่งมาก  แล้วชูนิ้วหัวแม่มือขึ้นก็จะเป็นการย้ำความหมายอีกครั้งหนึ่ง                     6. การใช้น้ำเสียง  การใช้น้ำเสียงดัง ค่อย เร็ว ช้า จะบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดได้ เช่น พูดเสียงสั่น เพราะตกใจ พูดเสียงห้วน แสดงความไม่พอใจ

          อวัจนภาษา แบ่งได้ 7 ประเภท คือ

          1. เทศภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากสถานที่และระยะห่างของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น ซีอีโอ จะอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร คนรักหรือเพื่อนสนิทจะคุยกันอย่างใกล้ชิด           2. อาการภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากกิริยาอาการ ท่าทาง การใช้มือ แขน ศีรษะ ประกบการสื่อสาร เช่น การยืนล่วงกระเป๋าพูดคุยกับผู้ใหญ่ถือว่าไม่สุภาพ           3. กาลภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากช่วงเวลาในการสื่อสาร เช่น การมาตรงเวลา หรือมาก่อนเวลานัดแสดงว่ามีความตั้งใจจริง           4. เนตรภาษา คือ ภาษาที่สื่อผ่านทางสายตา เช่น การมองผู้ฟังอย่างทั่วถึง ครูใช้สายตาดุนักเรียน           5. สัมผัสภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากการสัมผัส เช่น พ่อลูบศีรษะลูกด้วยความเอ็นดู ชาวต่างชาติโอบกอดทักทายกัน           6. วัตถุภาษา คือ ภาษาที่แสดงผ่านทางวัตถุสิ่งของ และการแต่งกายอย่างเหมาะสม

          7. ปริภาษา คือ ภาษาที่เกิดจากการใช้น้ำเสียงขณะพูด โดยการเน้นเสียงสูงต่ำ ความดังที่พอเหมาะและน้ำเสียงที่สื่ออารมณ์และเจตนาของผู้พูด

อุปสรรคของการสื่อสาร
           อุปสรรคของการสื่อสาร ได้แก่
           1. ผู้ส่งสาร ขาดคุณสมบัติต่างๆ เช่น           - ขาดความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร           - ขาดความสนใจในเนื้อเรื่อง หรือในประเด็นของเรื่องที่สื่อสาร           - มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อเรื่องที่ตนจำเป็นต้องสื่อสาร           - ขาดความสันทัดในการใช้ภาษา

           2. ตัวสาร เป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้ถ้า

          - ซับซ้อน หรือลึกซึ้งจนเกินกำลังของผู้รับสาร           - ห่างไกลจากประสบการณ์ของผู้รับสารมากเกินไป           - มีความขัดแย้งกันในตัวสาร           - เนื้อหาซ้ำซาก ไม่น่าสนใจ           - ผู้ส่งสารพูดประโยคเยิ่นเย้อ หรือเนื้อความแปลกใหม่เกินความคิดของผู้รับตัวสารนั้น ก็จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร

          3. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นอุปสรรคของการสื่อสาร เพราะใช้ภาษาผิดระดับ

ใช้คำ สำนวนภาษา ที่ไม่ตรงกับความหมายหรือไม่ตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร

          4. ผู้รับสาร เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร เพราะ

          - ขาดพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง           - ขาดความสนใจ ขาดสมาธิในการฟังหรืออ่าน ส่งเสียงคุยกันดัง           - มีความรู้สึกที่ไม่ดีหรืออคติต่อผู้ส่งสาร หรือตัวสาร           - ขาดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ หรือทักษะในการรับสาร เช่น ทักษะการฟัง การอ่าน การสังเกต การจับใจความสำคัญ การย่อความ

          5. สื่อ ที่เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร เพราะ

          - เครื่องขยายเสียงที่ปรับเสียงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์           - เครื่องขยายเสียง หรือ โทรศัพท์ที่มีความขัดข้องทางเทคนิค           - ลายมือที่หวัดมากจนอ่านไม่ออก หรือตัวพิมพ์ที่เลอะเลือน           - แผ่นใสที่มีขนาดไม่เหมาะสม เล็กไป หรือเลือนราง

          6. กาลเทศะและสภาพแวดล้อม

          - การสื่อสารที่ไม่เหมาะสมกับเวลาและโอกาส เช่น เชิญชวนนักเรียนไปเข้าค่ายในช่วงเวลาสอบการบรรยายธรรมะหลังเวลารับประทานอาหาร

          - การสื่อสารในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น นอกห้องประชุมมีเสียงดัง เช่น เสียงรถ เสียงการก่อสร้าง เสียงจ้อกแจ้กของผู้คน หรือห้องประชุมเล็กแต่ผู้รับสารมากจนล้นห้อง

วิธีแก้ไขอุปสรรคของการสื่อสาร            วิธีแก้ไขอุปสรรคของการสื่อสาร ได้แก่

           1.ผู้ส่งสาร           - ค้นคว้าหาความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร           - ให้ความใจในเนื้อเรื่อง สื่อสารให้ตรงประเด็น           - สร้างความรู้สึกที่ดีต่อเรื่องที่ตนจำเป็นต้องสื่อสาร           - ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษา เช่น การพูด การอ่าน           - ไม่ใช่อารมณ์ตัดสินเมื่อเกิดอุปสรรคในการสื่อสาร ควรพิจารณาตนเองก่อนว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่

           2.ผู้รับสาร
          - แสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านหรือฟัง

          - ตั้งใจ และมีสมาธิในการฟังหรืออ่าน มีมารยาทในการฟัง เช่น ไม่ส่งเสียงคุยกันดัง ลุกขึ้นเดินบ่อยๆ           - ขจัดความรู้สึกที่ไม่ดีหรืออคติต่อผู้ส่งสาร หรือตัวสาร           - ฝึกฝนทักษะในการรับสาร เช่น ทักษะการฟัง การอ่าน การสังเกต การจับใจความสำคัญการย่อความ           - อย่าใช้อารมณ์ตัดสิน ถ้าเกิดอุปสรรคในการสื่อสาร ควรพิจารณาความบกพร่องของตนเองก่อนโทษปัจจัยอื่น

           3.ตัวสาร

          - เลือกเรื่องที่ไม่ซับซ้อน หรือลึกซึ้งจนเกินกำลังของผู้รับสาร           - เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของผู้รับสาร           - เลือกวิธีนำเสนอให้เหมาะสม เช่น ควรใช้การพูดเพื่อชวนเพื่อนไปเที่ยววันหยุดสุดสัปดาห์           - การฝากเพื่อนซื้อกล้องถ่ายรูปที่ต่างประเทศ ควรใช้การพูด ประกอบการเขียน           - เตรียมตัวสารให้เหมาะสมกับเวลา ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป

          4. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร


          - ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับ           - ใช้คำ สำนวนภาษาที่ให้ตรงกับความหมาย หรือตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร           - ใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน กะทัดรัด ไม่กำกวม

          5. สื่อ

          - เตรียม และทดสอบ สื่อทัศนูปกรณ์ให้พร้อมก่อนการสื่อสาร           - เลือกสื่อที่เหมาะสมกับสถานการณ์

          6. กาลเทศะและสภาพแวดล้อม

          - สื่อสารให้เหมาะสมกับเวลาและโอกาส เช่น เชิญชวนนักเรียนไปเข้าค่ายหลังเมื่อสอบเสร็จแล้ว การบรรยายธรรมะในเวลาเช้า การแจ้งข่าวร้ายไม่ควรแจ้งให้ทราบโดยทันที ควรทิ้งระยะหรือนำเรื่องอื่นขึ้นมาพูดก่อน ควรดูโอกาสที่เหมาะจึงค่อยแจ้งข่าวนั้นให้ทราบ การคุยเรื่องส่วนตัวกับเพื่อน ควรคุยกันสองต่อสอง ไม่ควรคุยกันต่อหน้าคนอื่น

          - เลือกหรือเตรียมสถานที่ในการสื่อสารที่เหมาะสม


Page 7

          การสื่อสารให้ได้ผลดีนั้น ผู้ส่งสารจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องคำและรู้จักเลือกใช้คำได้อย่างเหมาะสมตรงความหมาย ที่ตนต้องการสื่อการใช้คำผิดความหมายหรือไม่เหมาะสมจนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารได้ ดังนั้นการใช้คำจึงมีข้อความคำนึงดังต่อไปนี้

ใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับของการสื่อสาร           การเลือกใช้คำสื่อสารนั้นต้องคำนึงถึงฐานะของบุคคลที่สื่อสารกัน คำนึงถึงโอกาสฐานะของบุคคลที่สื่อสารกัน เช่น ครูกับศิษย์ ลูกกับพ่อแม่ เพื่อนกับเพื่อน เด็กกับผู้ใหญ่

          โอกาสในการใช้ภาษา คือ การเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
                     1. โอกาสที่เป็นทางการ คือ โอกาสที่เป็นพิธีการ เช่น งานพระราชพิธี การเขียนรายงานทางวิชาการ เอกสารของทางราชการ การทำวิทยานิพนธ์ การเขียนตำราวิชาการ
                     

2. โอกาสที่ไม่เป็นทางการ คือ โอกาสทั่วไปที่ติดต่อสื่อสารกัน เช่น การสนทานากันที่บ้านที่โรงเรียน การติดต่อซื้อขายการทักทายในโอกาสต่างๆ

ตัวอย่างคำที่ใช้ในโอกาสที่ไม่เป็นทางการและโอกาสที่เป็นทางการ เช่น

โอกาสที่ไม่เป็น
ทางการ

โอกาสที่เป็น
ทางการ

โอกาสที่ไม่เป็น
ทางการ

โอกาสที่เป็น
ทางการ

ขี้เกียจ

เกียจคร้าน เมีย ภรรยา

ใบขับขี่

ใบอนุญาตขับรถยนต์ เจอ พบ,เห็น
โรงพัก สถานีตำรวจ โกหก พูดปด,เท็จ
รถติด จราจรติดขัด รถเมล์ รถประจำทาง
คุย สนทนา ลักของ ขโมยของ
แสตมป์ ดวงตราไปรษณียากร รถทัวร์ รถโดยสารปรับอากาศ

          1. ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันให้ถูกต้องเหมาะสม           ภาษาไทยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากมาย ซึ่งต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับความหมายที่ต้องการสื่อสาร คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้อาจเป็นคำมูล คำประสม คำซ้อน หรือคำที่รับมาจากภาษาอื่น

          ตัวอย่างคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน

          แมง - แมลง           สืบสวน - สอบสวน           ค้ำจุน -  ค้ำชู           ไถล - ถลา           ฝาน -  เถือ           ชุลมุน - อลหม่าน           คร่ำคร่า -  คร่ำครึ           ขัดขวาง -  กีดขวาง           ตำนาน - พงศาวดาร           เด็ด -  ปลิด           ฯลฯ

          2. ใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกชัดขึ้นเป็นพิเศษ

          ภาษาไทยมีคำมากมายที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกผ่านทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

                    คำที่ให้ความรู้สึกผ่านทางตา ได้แก่ คำที่บอกรูปร่าง ระยะทาง สี เช่น เล็ก ใหญ่ อ้วน ผอม เรียง แคบ กว้าง ยาว กลม รี สูง เตี้ย ใกล้ ไกล ม่วง ขาว แดง เขียว เหลือง สั้น ยาว


                    คำที่ให้ความรู้สึกผ่านทางหู ได้แก่ คำที่บอกเสียง เช่น ดัง ค่อย แหบ แหลม ทุ้ม เบา เหน่อ แผ่ว กระด้าง
                    คำที่ให้ความรู้สึกผ่านทางจมูก ได้แก่ คำที่บอกกลิ่น เช่น ฉุน หอม เหม็น สาบ คาว หืน
                    คำที่ให้ความรู้สึกผ่านทางลิ้น ได้แก่ คำที่บอกรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม กร่อย ชืด มัน เฝื่อน
                    คำที่ให้ความรู้สึกผ่านทางกาย ได้แก่ คำที่บอกความรู้สึก เช่น แข็ง อ่อน ร้อน เย็น นุ่ม หนัก เบา ลื่น
                    คำที่ให้ความรู้สึกผ่านทางใจ ได้แก่ คำที่บอกความรู้สึกในใจ เช่น รัก ชอบ โกรธ เกลียด ดีใจ ตกใจ เสียใจ โมโห                     คำต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เห็นภาพชัดเจนหรือให้ความรู้สึกเด่นชัดเป็นพิเศษได้ด้วยวิธีต่าง ได้แก่

                    1. ใช้วิธีอุปมาเปรียบเทียบ เช่น

 

- ดังราวกับฟ้าผ่า - รุนแรงเป็นพายุ  - สูงเทียบเมฆ - เบาเหมือนปุยนุ่น - ดีใจเหมือนได้แก้ว

- แข็งเหมือนเพชร

- รักดังแก้วตา - หวานปานน้ำผึ้ง - สูงเป็นเสาโทรเลข - สวยเหมือนเทพธิดา

- กว้างเป็นมหาสมุทร

- ขมเหมือนบอระเพ็ด


- เย็นเป็นน้ำแข็ง


- เขียวเหมือนพระอินทร์ - แกร่งเป็นหินผา

- เร็วเหมือนลม

                    2. ใช้คำวิเศษณ์มาขยาย เช่น ดังสนั่น เย็นเจี๊ยบ เขียวขจี หอมฟุ้ง สว่างจ้า ขมปี๋ เหลืองอ๋อย เบาโหวง แข็งกระด้าง อ่อนปวกเปียก เหม็นฉึ่ง อ้วนฉุ
                    3. ใช้กลุ่มคำวิเศษณ์มาขยาย เช่น ไกลสุดหล้าฟ้าเขียว เกลียดเข้ากระดูกดำ สูงสุดสอย ดั่งสนั่น หวั่นไหว หอมตรลบอบอวล                     ตัวอย่างข้อความที่ใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกชัดขึ้นเป็นพิเศษ เช่น                     - ร่างกายของคนเราไม่ได้ใหญ่โตเหมือนขุนเขา ไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนหินผา                     - เท้านั้นเย็นชืดไม่มีชีวิต มอมมันรู้สึกร้อนผ่าวไปทั้งตัว                     - ชายชรานั่งตัวแข็ง เย็นยะเยือกไปถึงไขสันหลัง                     - แม้จะอยู่ไกลสุดหล้าฟ้าเขียว เราก็คิดถึงกันเสมอ                     - กลิ่นดอกราตรีหอมตรลบอบอวลไปทั่วบริเวณ

          3. ใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับการสื่อสาร

          ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับการใช้ คำนึงถึงฐานะ โอกาส กาลเทศะ เพศ อายุ มารยาท ความสนิทสนม ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การใช้คำแตกต่างกันไป           (พูดกับเพื่อนสนิท) เฮ้ย มึงหลบไปหน่อย กูมองไม่เห็นกระดานดำ           (พูดกับเพื่อนไม่สนิท) ช่วยหลบไปหน่อย เรามองไม่เห็นกระดานดำ           (พูดกับอาจารย์) กรุณาหลบไปหน่อยครับ ผมมองไม่เห็นกระดานดำ           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทยทุกคน           สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพรปีใหม่แก่ประชาชนชาวไทยทุกคน           ครูใหญ่ให้พรปีใหม่แก่นักเรียนทุกคน           รัฐบาลช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยที่ภาคใต้แล้ว

          4. ไม่ใช่รูปประโยคเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ


 

ควรเปลี่ยนเป็น

มันเป็นการยากที่เธอจะสอบเอนทรานซ์ติดถ้าไม่ขยัน ถ้าเธอไม่ขยัน เธอก็จะสอบเอนทรานซ์ติดได้ยาก

เธอพบตัวเองอยู่ในห้องเพียงคนเดียว

 

ควรเปลี่ยนเป็น

เธออยู่คนเดียวในห้อง
เธอใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษตั้งแต่เด็ก

 

ควรเปลี่ยนเป็น

เธออาศัยอยู่ที่อังกฤษตั้งแต่เด็ก
พระอภัยมณีถูกแต่งโดยสุนทรภู่

  ควรเปลี่ยนเป็น สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณี
สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศรวันดา
  ควรเปลี่ยนเป็น สหรัฐฯ ช่วยเหลือแก่ประเทศรวันดา

          ข้อสังเกต คำว่า “ถูก” ในภาษาไทยใช้ในกรณีที่ถูกกระทำในเรื่องไม่ดีเท่านั้น ในเรื่องทั่วไปไม่นิยม เช่น เขาถูกครูตี เธอถูกงูกัด เขาถูกใส่ร้าย น้องถูกทำโทษ
          5. ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ไม่ฟุ่มเฟือย เช่น

  ควรเปลี่ยนเป็น เกิดอัคคีภัยไฟไหม้ที่โรงแรมหรูใจกลางกรุงเทพฯ
เกิดไฟไหม้ที่โรงแรมหรูใจกลางกรุงเทพฯ

Page 8

การซ้อนคำ           การซ้อนคำ คือ การนำคำมูลที่มีเสียงพยัญชนะต้น หรือ ความหมาย เหมือนกัน หรือคล้ายกันมาซ้อนให้เกิดเป็นคำใหม่

ที่ 3 ลักษณะ คือ

งาน วิเคราะห์ การ ร้อย เรียง ประโยค

การซ้ำคำ
          คำซ้ำ คือ การนำคำมูลที่เป็นคำชนิดเดียวกันมาซ้ำกันเพื่อให้เกิดความหมาย ดังนี้           1.  เกิดความหมายเป็นพหูพจน์ (ญาติๆ เพื่อนๆ)           2.  บอกจำนวนหรือบอกความหมายแยกส่วน (เรื่องๆ ชุดๆ ห้องๆ)           3.  บอกกริยาซ้ำๆ (เดินๆ นั่งๆ ดูๆ)           4.  บอกกลุ่ม ลักษณะ รูปพรรณสัณฐาน (หลังๆ บางๆ แบนๆ)           5.  บอกสถานที่ หรือเวลาอย่างไม่เจาะจง (สายๆ ใกล้ๆ)           6.  ทำให้ความหายเปลี่ยนไปจากเดิม (หมูๆ กล้วยๆ)           7.  ซ้ำเพื่อมีความหมายในทำนองสั่ง (เงียบๆ เร็วๆ)           8.  ซ้ำ เพื่อบอกเหตุการณ์หรืออาการต่อเนื่อง (หยิมๆ ปรอยๆ)           9.  ซ้ำ เพื่อย้ำเน้นความรู้สึก จะเป็นคำซ้ำเสียงซึ่งมักใช้ในภาษาพูด (ดี๊ดี ส๊วยสวย คุ๊นคุ้น)           10. ซ้ำ เพื่อเลียนเสียงธรรมชาติ (เปรี้ยงๆ โครมๆ)

คำมูล คำประสม
          คำมูล คือ คำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองไม่สามารถแยกศัพท์ออกได้ เช่น กะละมัง กัลปังหา ก้อร่อก้อติก หรืออาจแยกศัพท์ได้แต่ความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับคำเดิมเลย เช่น ปะการัง ละมุด ยี่เข่ง

          คำประสม เกิดจากคำมูลที่มีความหมายตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปรวมกันเกิดคำใหม่ 2 ลักษณะ คือ คำใหม่

มีความหมายคงเค้ามูลคำเดิม เช่น มือกาว หรือมีความหมายเชิงอุปมา เช่น มืออ่อน (ด้อยประสบการณ์)

อนึ่งคำประสมอาจสังเกตจากหน่วยคำที่เติมหน้าได้แก่ การ ความ ชาง ช่าง ของ นัก เครื่อง ที่ ผู้ หมอ ใจ ก็ได้

คำที่มาจากภาษาอื่น
             คำบาลี   สันสกฤต              1. คำไทยที่มีหลายพยางค์มักมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น   ประเสริฐ   เมตตา   ศีรษะ   ลักษณะ              2. คำที่ประสมด้วยตัวอักษร  ฆ   ฌ   ญ   ฎ   ฏ   ฐ   ฑ   ฌ   ณ   ธ   ภ   ศ   ษ   ฤ    มักเป็นคำบาลีหรือสันสกฤต  เช่น   ฤทธิ์   รัฐ   กษาปณ์   มัธยม              3. คำที่มีรูปวรรณยุกต์ ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลี  สันสกฤต  ยกเว้น   คำที่ไทยมาเติมรูปวรรณยุกต์เอกภายหลัง  เช่น   เล่ห์   เสน่ห์              4. คำบาลี  สันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย  มักมีตัวการันต์  แม้เป็นคำที่อยู่ในมาตรา  แม่  ก กา   และ คำในมาตรา  ตัวสะกด   ทั้งนี้  เพราะต้องการรักษารูปศัพท์เดิม   เช่น   สูรย์   รุกข์   กัลป์   องค์  

             5.  หลักสังเกตคำบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย

บาลี

สันสกฤต

1.  ใช้สระ  อะ   อา   อิ   อี   อุ  อู   เอ   โอ   เช่น    อิสี   อุตุ   โมลี   วิสาล

1.  ใช้สระ  อะ   อา   อิ   อี   อุ  อู   เอ   โอ  และเพิ่ม  ฤ  ฤๅ   ฦ   ฦๅ   ไอ   เอา   เช่น  ฤษี  ฤดู   เมาลี   ไพศาล

2.  ใช้  ส  เช่น   สาสนา   สิสสะ   สันติ   วิสาสะ

2.  ใช้  ศ  ษ  เช่น   ศาสนา   ศิษย์   ศานติ   พิศวาส  ใช้  ส  นำหน้าพยัญชนะวรรคตะ  เช่น   สวัสดี   หัสดิน   สถาน   สถิติ   สตรี   พัสดุ

3.  ใช้   เช่น  จุฬา   กีฬา   ครุฬ   โอฬาร

3.  ใช้    เช่น  จุฑา   กรีฑา   ครุฑ   โอฑาร

4.  ใช้พยัญชนะเรียงพยางค์เช่น  กิริยา   ปฐม   ปุตฺต   จันท์   ปชา   สิริ

4.  ใช้อักษรควบ เช่น   กริยา   ประถม   บุตร   จันทร์   ประชา   ศรี

5.  ใช้  ริ  เช่น  ภริยา   อริยะ  จริยา  วิริยะ

5.  ใช้ตัว  รร  , ร  เช่น  ภรรยา  อารยะ  จรรยา  เพียร  ธรรม   กรรม   มรรค 

6.  มีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน
ใช้พยัญชนะสะกดและตัวตามตัวเดียวกัน เช่น   ธัมม   กัมม   มัคค   สัคค   สัพพ   วัณณ

6.   ไม่มีหลักตัวสะกดตัวตาม เช่น  อัคนี   กัลป์  วิทยา  อัปสร   สัตย์

             หลักตัวสะกดตัวตามสำหรับสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลีมีดังนี้

พยัญชนะแถวที่

1 2 3 4 5

วรรค  กะ   กัณฑชะ

วรรค  จะ  ตาลุชะ

วรรค  ฏะ  มุทธชะ

วรรค  ตะ  ทันตชะ 

วรรค  ปะ  โอฏฐชะ 

เศษวรรค  

ย ร

ล ว

(ศ,ษ)

ห   ฬ   อ 

             1.   พยัญชนะแถวที่  1  เป็นตัวสะกด  ตามด้วยพยัญชนะแถวที่ 1, 2  เช่น   อุกกาบาต   สักกะ   สักการะ   ภิกขุ   จักขุ   รุกขะ   มัจฉะ   วัฏฏะ(วัฏ)   รัฏฐะ(รัฐ)   อิฏฐ(อิฐ)   เมตตา   รัตตะ   บุปผา              2.   พยัญชนะแถวที่ 3  เป็นตัวสะกด  ตามด้วยพยัญชนะแถวที่ 3, 4  เช่น   อัคคะ   อัคคี   วิชชา   เวชช   อัชฌาสัย   อุปัชฌาย์   วุฑฒิ(วุฒิ)   อัฆฒ(อัฒ)   วัฑฒน(วัฒน)   พุทธ   อิทธิ   ทัพพี              3.   พยัญชนะแถวที่ 5  เป็นตัวสะกด  ตามด้วยพยัญชนะแถวที่ 1 – 5  ในวรรคเดียวกัน  เช่น   สังกร   อังกูร   สังข์   สัญญา   กัญญา   กุญชร   กุณฑล   มณฑล   กัณฐ์   เกณฑ์   สันติ   สันธาน   สันถาร   สนทนา   นันท์   คัมภีร์   กัมพล   กัมปนาท   สัมผัส

             4.   ตัว   ย   ตามด้วย   ย   ล   ตามด้วย   ล   ส   ตามด้วย   ส   เช่น   อัยยกา   บัลลังก์   จุลล  กัลละ   วัลลภ   อิสสระ   อิสสริยะ   อัสสะ   มัสสุ   อัสสุ   อัสสาสะ   ปัสสาะ   ปัสสาวะ   พัสสะ

             การนำบาลีและสันสกฤตมาใช้   บางครั้งเราก็ใช้ทั้งสองคำในความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน  เช่น

คำที่มาจากภาษาบาลี

คำที่มาจากภาษาสันสกฤต

ใช้ในความหมายว่า

อิทธิ

ฤทธิ์

อำนาจศักดิ์สิทธิ์

สังคาร

ศฤงคาร

สิ่งที่เกิดความรัก

ติณ

ตฤณ

หญ้า

เวช

แพทย์

แพทย์

วุฒิ

พฤฒิ

ความเจริญ   ภูมิรู้

อุตุ

ฤดู

เวลาตามกำหนด

รุกข์

พฤกษ์

ต้นไม้

             บางครั้งไทยรับมาใช้ทั้งสองภาษา  แต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน  เช่น

 

อัจฉริยะ (บาลี)

–   เก่งกาจ   น่าพิศวง

 

อัศจรรย์ (ส)

–   นาพิศวง

 

กีฬา (บาลี)

–   การแข่งขัน   การออกกำลังกาย   การแข่งขันประเภทลาน

 

กรีฑา (ส)

–   การแข่งขันประเภทลู่

 

เขต (บาลี)  

–   กำหนดแดน   ขอบ

 

เกษตร (ส) 

–   การเพาะปลูก   เลี้ยงสัตว์

  วิตถาร จิตผิดปกติ ละเอียดแจ่มแจ้ง
  พิสดาร แปลกประหลาด ละเอียดแจ่มแจ้ง   สวยงาม
  เวทนา รู้สึกเห็นใจ ความรู้สึก
  สัญญา การให้คำมั่น การจำได้หมายรู้
  ปรัชญา วิชาว่าด้วยความคิด ความรู้

             คำบางคำเปลี่ยนความหมายไปจากความหมายเดิม  เช่น

  ความหมายปัจจุบัน ความหมายเดิม  
  สามานย์ ชั่วช้า ปกติ   ธรรมดา
  สาธารณ์ ชั่วช้า ทั่วไป
  ประณาม ตำหนิติเตียน น้อมไหว้
       

              คำภาษาเขมร
              1. คำเขมรนิยมสะกดด้วย 
:  จ   ญ   ล   ร   ล   เช่น

             อำนาจ   เสร็จ   เสด็จ   เผด็จ   ตำรวจ     เพ็ญ   เผอิญ   สำราญ   ผจญ   ครวญ   ชำนาญ   เจริญ    กังวล   ถกล   ถวิล   ดล   จรัส   กำนัล   ตำบล   ขจร   กำธร   ควร   ตระการ   ดำรัส   จรัส   ตรัส

             2. คำเขมรมักควบกล้ำ

             กรวด   กระบือ   เกลือ   ขลาด   กะแส   ไพร   ตระกอง   โปรด   กราน   กรม   กระทรวง   กระเพาะ   กระจอก   โขลน   เพลา   กระโปรง   คลัง   ควาญ   ประชุม   ประกายพรึก   ประเดิม

3. คำเขมรมักใช้อักษรนำ

             ขยม   โขมด   เม่า   ขนอง   เสวย   เขนย   จมูก   ถวาย   ฉนำ   เฉลียง   ฉงาย   ขนุน   ขยำ   ขนม   จรวด   ฉงน   ฉลอง   เฉลียว   ฉบับ   สนิม   ขวนขวาย   โตนด   ขนง   สนาน   สนุก   ฉนวน   ถนน

4. คำเขมรมักขึ้นด้วย  “อำ”   กำ   คำ   จำ   ชำ   ดำ   ตำ   ทำ   สำ   อำ

             กำหนด   กำเนิด   คำรบ   จำแนก   จำหน่าย   ชำนาญ   ชำรุด   ดำเนิน   ดำรง   ดำริ   ดำรัส   ตำรวจ   ตำรา   ทำนบ   ทำเนียบ   สำราญ   สำรวล   อำนวย   กำจัด

5. คำเขมรขึ้นต้น  บำ   บัง   บัน   บรร
             
บำเพ็ญ   บำนาญ   บำเหน็จ   บำบัด   บำเรอ   บำเรอ   บังควร   บังอาจ   บังคม   บังคับ   บังเกิด   บันทึก   บันดาล   บันได   บรรทุก   บรรจุ   บรรจง   บรรจบ   บรรหาร   บรรทัด   บรรเทา

             ภาษาอื่น ๆ ที่พบในภาษาไทย
              1. ภาษาจีน   เช่น   ตะหลิว   ตุน   ตั๋ว   โต๊ะ   เต้าหู้   ห้าง   หุ้น   ชา   ซินแส   โจ๊ก   เจ   กางเกง   เกาหลา   กวยจั๊บ   ก๋วยเตี๋ยว   เกาลัด   ยี่ห้อ   ฯลฯ              2.   ภาษาอังกฤษ  เช่น   ยีราฟ   ฮิปโป   เพนกวิน   แท็กซี่   เมล์   บัส   โอ๊ก   มะฮอกกานี   ฟรี  ไดนาโม   ซิป   วิก   สูท   เบคอน   ฯลฯ              3.   ภาษาชวาและ  เช่น   มะงุมมะงาหรา   บุหงา   บุหลัน   บุหลง   ตุนาหงัน   มลายู   ยาหยี(น้องรัก)   ยาหัด(ชั่วไม่ดี)   ระตู   ระเด่น   มังคุด   ทุเรียน   น้อยหน่า   กริช   กระยาหงัน   ฯลฯ              4.   ภาษาเปอร์เซีย  เช่น   องุ่น   ตราชู   ชุกชี   กุหลาบ   สุหร่าย   เกด   เข้มขาบ   กากี              5.   ภาษาปอร์ตุเกส  เช่น   สบู่   ปิ่นโต   เหรียญ   บางหลวง   กะละมัง   กะละแม   เลหลัง

             6.   ภาษาฝรั่งเศส  เช่น   คิด   คิว   ลิตร   กรัม   กงสุล   โก้เก๋   กิโล   ปาร์เกต์   โชเฟอร์


Page 9

             พยางค์ คือ กลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ อาจมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์จะมีเสียงที่ดังเด่นอยู่ 1 เสียง เสียงที่ดังเด่นนั้นมักมีเสียงสระ

ลักษณะพยางค์ในภาษาไทย
             พยางค์ในภาษาไทยมี 4 แบบ              1. พยางค์หนัก  เป็นพยางค์ที่ออกเสียงได้โดยลำพัง  เป็นพยางค์ที่สมบูรณ์ เช่น ปู  เรือ เขี่ย อย่า  หญ้า เชื่อ  ชี้  รั้ว ขา  เสีย ปลา  เกลือ  เขี่ย  กว่า แคร่ เพลี้ย  ขวา ปร๋อ  วัน  ข่ม  กรุง   ปล่อง  กลุ้ม  ครั้น  ขวัญ  เขลา  กัด  และ ผลัด พริก   ขริบ   คลุก ร้าง  ป่าน  ตาม   หวาน  ครอง  แคว้น  ขวาน

             2. พยางค์เบา  เป็นพยางค์ที่ออกเสียงไม่ลงน้ำหนัก และโดยปกติไม่ออกเสียงตามลำพัง เช่น  กระทะ  กะทิ  คะนึง  ชะมด  พะเนิน   ระบาย  สะพาย  ตลบ  ถวาย  ทนาย  ทยอย   สบาย


             3.  พยางค์ลดน้ำหนัก  เป็นพยางค์ที่มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับพยางค์หนักแบบใดแบบหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏในตำแหน่งที่มีพยางค์ลงเสียงหนักมาต่อท้ายพยางค์หนักนั้นอาจกลายเป็นพยางค์ลดน้ำหนัก  เช่น   ฉันชอบรองเท้าคู่นี้มากกว่าคู่นั้น                      4.  พยางค์เน้นหนัก  ในการพูดบางครั้งผู้พูดต้องการเน้นพยางค์อย่างจงใจ เช่น เมื่อต้องการแย้ง, ต้องการแสดงข้อเปรียบเทียบ หรือต้องการให้เกิดความสนใจ

                         ตัวอย่าง  ฉันขอดินสอแดงไม่ใช่ดินสอดำ


Page 10

กรมนา

                                       

อ่านว่า 
อ่านว่า